ทฤษฎีมาควอส (Marquardt)

ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส (Marquardt)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส (Marquardt)

ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส (Marquardt) แสดงให้เห็นว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรเชิงระบบที่มีการเรียนรู้อย่างเต็มสมรรถนะ สั่งสมการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนองคกรณ์อย่างต่อเนื่องด้วยการแก้ไขจัดการและใช้ความรู้เพื่อความสำเร็จขององค์กร

• องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ของมาควอสมี 5 องค์ประกอบได้แก่
1. องค์การ (Organization) ระบบขององค์การต้องมีการวางรากฐาน ไว้เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่ง ประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่ สาคัญ ได้แก่ วิสัยทัศน์(Vision) ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศนาองค์การไปยัง เป้าหมายที่พึงประสงค์ กลยุทธ์ (Strategy) เป็นวิธีการที่จะทำให้ไปถึงยัง เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์การ (Structure) เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ มีการทำหน้าที่ในทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม

2. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ (People) องค์การหนึ่งๆต่างมีผู้เกี่ยวข้อง หลายฝ่ายทั้งภายในองค์การเองเช่น ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นาและมีทักษะ ทางด้านการบริหาร เช่นการสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง และที่สำคัญต้องเป็น แบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา พนักงานระดับปฏิบัติต้องมีนิสัยใฝ่รู้ และ พัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ลูกค้าที่ใช้บริการก็ต้องมีการให้ข้อมูล ย้อนกลับในด้านของความต้องการแก่องค์การเช่นเดียวกับพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ต้องให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกัน

3. เทคโนโลยี (Technology) การมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยถือ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มีความ สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยประเภทของเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างองค์การแห่ง การเรียนรู้มี 2 ประเภทคือ เทคโนโลยีสาหรับการบริหารจัดการความรู้ (Manage knowledge) คือการใช้เพื่อการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน ประเภทที่สองคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการเพิ่มพูนความรู้ (Enhance learning) คือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการสร้างการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างสะดวกมากขึ้น เช่นComputer-based training E-Learning Web-based learning

4. ความรู้ (Knowledge) ความรู้ที่มีในองค์การจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการ บริหารจัดการอย่างเป็นระบบทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ โดยกระบวนการให้การจัดการความรู้(Knowledge management) มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่การระบุความรู้ที่จำเป็นต่อองค์การ การเสาะแสวงหา หรือสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่ การจัดเก็บความรู้ การแบ่งบันความรู้ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

5. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้ถือเป็นระบบหลักที่เป็นแกนสำคัญ ของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่งสามารถจำแนกการเรียนรู้ได้ 3-ระดับ คือ-ระดับบุคคล-ระดับกลุ่ม-และระดับองค์การ ซึ่งในแต่ละระดับของการ เรียนรู้นั้นต้องเริ่มที่ทักษะของตัวบุคลากรแต่ละคนซึ่งต้องมี 5 ประการเพื่อ สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• มาควอสจะมองเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีโดยนำเอามาเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น