ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปีเตอร์เซงเก้ (Peter M. Senge’s)
Peter M. Senge’sได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เรียกว่า The five disciplines (วินัย 5 ประการ)ซึ่งเป็นแนวทางสําคัญ 5 ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้
ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปีเตอร์เซงเก้ (Peter M. Senge’s) จะมุ่งเน้นไปที่คน เพราะ Peter M. Senge’s มีความคิดว่าการพัฒนาองค์กรแห่งการ เรียนรู้จะต้องเริ่มการพัฒนาคนก่อน
KM > LO > IO
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO


- องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO)คือองค์กรที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร เรียนรู้ในกิจกรรมทุกอย่าง เป็นองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีความเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา
- สภาพเช่นนั้น เป็นสภาพที่สมาชิกขององค์กรรวมตัวกันเรียนรู้จาก การปฏิบัติงานประจำ เรียนรู้จากการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (CQI Continuous Quality Improvement)
1. ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษของบุคคล(Personal Mastery)
การฝึกฝนอบรมตนด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอเป็นรากฐานสำคัญ เป็นการขยายขีดความสามารถให้เชี่ยวชาญมากขึ้น ความรอบรู้เป็นผลร่วมของทักษะและความสามารถ เป็นสภาพที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงเห็นว่าอะไรมีความสำคัญต่อเราต่อองค์กร ขณะเดียวกันก็เห็นภาพในอนาคต (Vision) ที่พึงเป็นได้
ข้อตกลงเบื้องต้น ความเชื่อพื้นฐาน ข้อสรุปหรือภาพลักษณ์ที่ตกผลึกในความคิดอ่านของคนที่มอิทธิพลต่อความรู้ความเข้าใจต่อสรรพสิ่งในโลก
Senge เชื่อว่าความคิดความเชื่อแบบแผนความคิดอ่านของแต่ละคนมีข้อบกพร่อง ดังนั้นต้องอาศัยวินัยที่ 5 คือการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าไปร่วมทำงานด้วยซึ่งจะมีพลังเกิดผลดีสูงสุด
เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อภาวะผู้นำทุกคน เป็นพลังขับเคลื่อนในภารกิจทุกอย่างขององค์การให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
Senge เห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมนี้เป็นการสร้างความคิดที่ใช้ปกครอง ชี้นำองค์การว่าองค์การคิดอย่างไร มีเป้าหมาย พันธกิจ และยึดถือคุณค่าใด วิสัยทัศน์ที่ดีต้องสอดคล้องกับคุณค่าหรือค่านิยมที่ผู้คนยึดถือ
เราจะทำอย่างไรให้ระดับความสามารถของทีมเหนือกว่าระดับความสามารถของรายบุคคลในทีม ทีมสามารถพัฒนาขีดความสามารถประสานสัมพันธ์กันได้เป็นอย่างดี แนววิธีฝึกฝนสร้างการเรียนรู้ของทีมที่ดีและคุ้มค่านั้น
Senge เห็นว่าทำได้โดยผ่านการพูดคุย และการอภิปรายของผู้คนในองค์การ
Senge เห็นว่า การเรียนรู้เป็นทีมมี 3 ลักษณะสำคัญ ได้แก่
4.1. สมาชิกทีมต้องมีความสามารถในการคิด ตีปัญหา หรือประเด็นพิจารณาให้แตก หลายหัวร่วมกันคิด ย่อมดีกว่าการให้บุคคลคนเดียวคิด
4.2. ภายในทีมต้องมีการทำงานที่สอดประสานกันเป็นอย่างดี คิดในสิ่งที่ใหม่และแตกต่าง มีความไว้วางใจต่อกัน
4.3. บทบาทของสมาชิกทีมหนึ่งที่มีต่อทีมอื่นๆ ขณะที่ทีมหนึ่งสมาชิกเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การประพฤติปฏิบัติของทีมนั้นยังส่งผลต่อทีมอื่น ๆ ด้วย ซึ่งจะช่วยการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้มีพลังมากขึ้น
เป็นวินัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่ในความเป็นจริง ผู้คน บุคลากร ผู้บริหารหลายคนไม่สามารถฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถคิดได้อย่างเป็นระบบอย่างเท่าทันการณ์
หรือคิดได้ล่วงหน้า ผลก็คือทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานในการบริหารมากมาย
ลักษณะของการคิดอย่างเป็นระบบที่ดี ได้แก่
1. คิดเป็นกลยุทธ์ ชัดเจนในเป้าหมาย มีแนวทางที่หลากหลาย แน่วแน่ในเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์
2. คิดทันการ ไม่ช้าเกินการณ์ มองให้เห็นความจริง บางทีชิงปฏิบัติก่อนปัญหาจะเกิด
3. เล็งเห็นโอกาส ในทุกปัญหามีโอกาส ไม่ย่อท้อ สร้างประโยชน์ มองให้ได้ประโยชน์
ทําอย่างต่อเนื่อง จนเกิดทักษะทั้ง 5 ของ LO
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น